วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 11 วันที่ 15 ม.ค 2557

 ** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง**







อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาได้รับผิดชอบเป็นรายบุคคลดังนี้

(กำหนดส่งภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557)
1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5.นิยามศัพท์เฉพาะ
6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8.การดำเนินการวิจัย
9.สรุปผลการวิจัย
10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้
การเข้าเรียนครั้งที่ 10 (วันที่ 9 ม.ค  2557)

การเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่มซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กพิเศษที่มีความพกพร่องในด้านต่างๆ ดังนึ้

กลุ่มที่ นำเสนองานเรื่อง ภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)  
กลุ่มที่ นำเสนองานเรื่องเด็กพิการทางสมอง  (CP)
กลุ่มที่ นำเสนองานเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (สมาธิสั้น)
กลุ่มที่ นำเสนองานเรื่องดาว์นซินโดรม 

สรุปเนื้อหาที่ได้จากการเรียนการสอน

ความบกพร่องในการเรียนรู้ 
ในเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดเหนือกว่าเด็กอื่น 
แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้านช้ากว่าเพื่อนที่มีอายุเท่ากัน ทั้งๆ ที่เพื่อนอาจมี
สติปัญญาเท่ากันหรือต่ำกว่า การบกพร่องในการเรียนรู้ มิได้เกิดจากความเกียจคร้าน การขาดเรียน 
มีความพิการ หรือปัญหาทางอารมณ์ 

ลักษณะของเด็กดาวน์
ลักษณะทั่วไป เด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ศีรษะเล็ก หน้าแบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้นระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน

สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์
  1. โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
  2. โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
  3. มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1
สมาธิสั้น 
เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ

สาเหตุงของภาวะสมาธิสั้น
สารเคมีในสมอง อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือพันธุกรรมที่มีผลต่อสมอง แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

สาเหตุสมองพิการ
อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี