วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 14 วันที่ 6 กพ. 57

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน เพราะ อาจารย์ผู้สอนไปศึกษาดูงาน

เด็กพิเศษ มาจากคําเต็มว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” หมายถึงเด็กกลุ่มที่จําเป็ นต้องได้รับ
การดูแล ช่วยเหลือเป็ นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจําวัน การเรียนรู้ 
และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล 
ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจําเป็ น และความต้องการของเด็กแต่ละคน 

เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็ น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้ 
1. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ 
2. เด็กที่มีความบกพร่อง 
3. เด็กยากจนและด้อยโอกาส 

เด็กแต่ละกลุ่ม มีความจําเป็ นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็ นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่
แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ในบทความนี้ จะกล่าวถึงขอบเขตของเด็ก
พิเศษ แต่ละกลุ่มว่าเป็ นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 

1) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ 
 เด็กกลุ่มนี้ มักไม่ค่อยได้รับการดูแล ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจาก เรามักคิดว่าพวกเขาเก่ง
แล้ว สามารถเอาตัวรอดได้ บางครั้งกลับไปเพิ่มความกดดันให้มากยิ่งขึ้ น เพราะคิดว่าพวกเขาน่าจะทํา
ได้มากกว่าที่เป็ นอยู่อีก วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไป ก็ไม่ตอบสนองความต้องการในเรียนรู้ของเด็ก 
ทําให้เกิดความเบื่อหน่าย ทําให้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ 
 เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้ 
• เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้ นไป
• เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถ
พิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน อาจเป็ นด้าน คณิตศาสตร์-ตรรกศาสตร์ 
การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ 
• เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ 
2) เด็กที่มีความบกพร่อง 
 มีการแบ่งหลายแบบ ในที่นี้ จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งเป็ น 9 กลุ่ม ดังนี้ 
• เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 
• เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 
• เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร 
• เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว 
• เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม 
• เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Deficiency) 
• เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) 
• เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs) 
• เด็กที่มีความพิการซ้อน 
3) เด็กยากจนและด้อยโอกาส 
 คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จําเป็ นในการเจริญเติบโต และการ
เรียนรู้ของเด็ก และรวมถึงกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูก
ใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ 
           
เด็กกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึง เป็ นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการ
พิเศษ ซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ เพื่อให้มี
สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม และได้รับการยอมรับในสังคม 

อ้างอิง..
ทวีศักดิ์สิริรัตน์เรขา. เด็กพิเศษ. [Online] 2549; Available from: URL: 
http://www.happyhomeclinic.com/sp01-specialchild.htm

การเข้าเรียนครั้งที่ 13 วันที่ 30 มค. 57


อาจารย์ได้สอนเนื้อหา  เรื่อง การดูแลและส่งเสิรมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)
เด็กดาวน์ หรือ เด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซม
โครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง





ความช่วยเหลือที่เด็กดาวน์ควรได้รับ
  1. วัยเด็ก เป็นวัยทองของชีวิต ทักษะต่างๆจะพัฒนาไปได้ถึงกว่า ร้อยละ 90 ในวัยนี้ เด็กควรได้รับการแก้ไขความพิการที่เป็นมาแต่กำเนิด การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าเรียน ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว บุคลากรทางการศึกษา และสาธารณสุข
  2. วัยเรียน เมื่อเด็กได้รับการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะทางด้านร่าง และพัฒนาการแล้ว เด็กควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติใกล้บ้าน เพื่อให้ได้เรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับชีวิตจริงในชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว และบุคลากรทางการศึกษา
  3. วัยทำงาน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกอาชีพจากสถานที่ทำงานจริงในชุมชน หรือสถานฝึกอาชีพต่างๆต่อจากนั้น ชุมชนควรเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้ทำงาน งานที่ทำอาจเป็นงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือใช้ทักษะไม่มากนัก ในปัจจุบันมีสถานประกอบการเอกชนหลายแห่ง เปิดโอกาสให้กับเด็กเหล่านี้ ได้ทำงาน และมีอาชีพที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับคนทั่วไป
การดูแลเด็กดาวน์
สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ
การเข้าเรียนครั้งที่ 12   วันที่ 23 มค. 57

...อาจารย์ให้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ก่อน...

โรคออทิสซึม 
      ออทิสซึมเป็นภาวะที่เกิดจากสมองมีพัฒนาการที่ผิดแปลกออกไปจากเด็กทั่วไป โดยเป็นภาวะที่ครอบคลุมพัฒนาการหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา การเข้าสังคมและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น พฤติกรรมและหรือความสนใจ โดยเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะและอาการของภาวะออทิสซึมมากน้อยแตกต่างกันไป และอาจเปลี่ยนไปได้เมื่อเด็กโตขึ้น หรือเมื่อสมองมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง



สาเหตุ
      สาเหตุของโรคออทิสซึมนี้ยังไม่ชัดเจน และมีหลายทฤษฎีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้เสนอออกมา ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติในยีน ผลกระทบจากสารเคมีในสภาพแวดล้อม ปฏิกิริยาตอบรับกลุ่มวัคซีน MMR ความผิดปกติในลำไส้ ฯลฯ แต่สาเหตุที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ นักวิจัยพบว่า สมองของเด็กที่เป็นออทิสซึมนั้นมีการพัฒนาที่ไม่ปกติ รวมไปถึงขนาดของสมองบางส่วน การเชื่อมโยงกันของเซลล์สมอง และอัตราการเจริญเติบโตของขนาดสมองโดยรอบดัวย ขณะนี้ห้องวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำทั่วโลกจึงกำลังพยายามค้นหาบ่อเกิดของออทิสซึมอยู่ ทำให้มีความหวังว่า อีกไม่นานนักวิทยาศาสตร์คงจะค้นพบกลุ่มสาเหตุที่แท้จริงของออทิสซึมได



การใช้ภาษาและการสื่อสาร
      * เมื่ออายุ 1 ปี ยังไม่ส่งเสียงกูๆ กาๆ
      * เมื่ออายู 18 เดือน ยังไม่พูดเป็นคำ
      * เด็กหยุดพูดหลังจากเริ่มพูดเป็นคำแล้ว
      * ในเด็กที่ไม่พูด ไม่มีการใช้สีหน้า ท่าทาง หรือใช้เสียงทดแทนการพูดไม่ได้
      * ไม่ทำท่าทางเพื่อประกอบการสื่อสาร เช่น โบกมือลา ชี้นิ้ว หรือส่ายหัว
      * พูดท่องจำจากสิ่งที่เคยได้ยิน โดยไม่มีความหมาย

การเข้ากับผู้อื่น

      * ไม่แสดงทีท่าสนใจผู้อื่น แม้แต่บุคคลคุ้นเคย
      * ไม่หันหน้าเมื่อถูกเรียกชื่อ
      * ไม่สบตา
      * ไม่เข้าใจน้ำเสียง สีหน้า หรือท่าทางของผู้อื่น
      * ไม่รับทราบถึงความรู้สึกของผู้อื่น หรือไม่เข้าใจว่าพฤติกรรมของเขาจะมีผลกับบุคคลรอบข้างอย่างไร
      * ไม่สนใจที่จะเล่นกับเด็กคนอื่น

การเล่นที่หมกมุ่นซ้ำซ้อน
      * แสดงพฤติกรรมซ้ำไปซ้ำมา และมีการเล่นหรือความสนใจในของเล่นที่ไม่ปกติ เช่น ชอบหมุน
ของเล่น เรียงของเป็นแถว วิ่งเป็นวงกลมซ้ำๆ หรือกลับไปกลับมา ชอบนั่งโยกตัว วิ่งตามขอบกำแพง และมองเส้นจากหางตา เป็นต้น หากบุตรหลานของท่านมีอาการบางอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น ท่านควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กเพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนทันที อย่ารีรอ เพราะการรู้เร็วจะทำให้เด็กได้ประโยชน์จากการรับบำบัดที่เร็วด้วย นอกจากนี้ลักษณะที่ได้กล่าวมาเหล่านี้อาจแสดงถึงภาวะรุนแรงอื่นๆ ที่ไม่ใช่ออทิสซึมได้ ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้ท่านผู้ปกครองสามารถเลือกวิธีการบำบัดหรือรักษาได้เหมาะสมที่สุดภาวะในเครือข่ายออทิสซึม