วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 12   วันที่ 23 มค. 57

...อาจารย์ให้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ก่อน...

โรคออทิสซึม 
      ออทิสซึมเป็นภาวะที่เกิดจากสมองมีพัฒนาการที่ผิดแปลกออกไปจากเด็กทั่วไป โดยเป็นภาวะที่ครอบคลุมพัฒนาการหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา การเข้าสังคมและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น พฤติกรรมและหรือความสนใจ โดยเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะและอาการของภาวะออทิสซึมมากน้อยแตกต่างกันไป และอาจเปลี่ยนไปได้เมื่อเด็กโตขึ้น หรือเมื่อสมองมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง



สาเหตุ
      สาเหตุของโรคออทิสซึมนี้ยังไม่ชัดเจน และมีหลายทฤษฎีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้เสนอออกมา ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติในยีน ผลกระทบจากสารเคมีในสภาพแวดล้อม ปฏิกิริยาตอบรับกลุ่มวัคซีน MMR ความผิดปกติในลำไส้ ฯลฯ แต่สาเหตุที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ นักวิจัยพบว่า สมองของเด็กที่เป็นออทิสซึมนั้นมีการพัฒนาที่ไม่ปกติ รวมไปถึงขนาดของสมองบางส่วน การเชื่อมโยงกันของเซลล์สมอง และอัตราการเจริญเติบโตของขนาดสมองโดยรอบดัวย ขณะนี้ห้องวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำทั่วโลกจึงกำลังพยายามค้นหาบ่อเกิดของออทิสซึมอยู่ ทำให้มีความหวังว่า อีกไม่นานนักวิทยาศาสตร์คงจะค้นพบกลุ่มสาเหตุที่แท้จริงของออทิสซึมได



การใช้ภาษาและการสื่อสาร
      * เมื่ออายุ 1 ปี ยังไม่ส่งเสียงกูๆ กาๆ
      * เมื่ออายู 18 เดือน ยังไม่พูดเป็นคำ
      * เด็กหยุดพูดหลังจากเริ่มพูดเป็นคำแล้ว
      * ในเด็กที่ไม่พูด ไม่มีการใช้สีหน้า ท่าทาง หรือใช้เสียงทดแทนการพูดไม่ได้
      * ไม่ทำท่าทางเพื่อประกอบการสื่อสาร เช่น โบกมือลา ชี้นิ้ว หรือส่ายหัว
      * พูดท่องจำจากสิ่งที่เคยได้ยิน โดยไม่มีความหมาย

การเข้ากับผู้อื่น

      * ไม่แสดงทีท่าสนใจผู้อื่น แม้แต่บุคคลคุ้นเคย
      * ไม่หันหน้าเมื่อถูกเรียกชื่อ
      * ไม่สบตา
      * ไม่เข้าใจน้ำเสียง สีหน้า หรือท่าทางของผู้อื่น
      * ไม่รับทราบถึงความรู้สึกของผู้อื่น หรือไม่เข้าใจว่าพฤติกรรมของเขาจะมีผลกับบุคคลรอบข้างอย่างไร
      * ไม่สนใจที่จะเล่นกับเด็กคนอื่น

การเล่นที่หมกมุ่นซ้ำซ้อน
      * แสดงพฤติกรรมซ้ำไปซ้ำมา และมีการเล่นหรือความสนใจในของเล่นที่ไม่ปกติ เช่น ชอบหมุน
ของเล่น เรียงของเป็นแถว วิ่งเป็นวงกลมซ้ำๆ หรือกลับไปกลับมา ชอบนั่งโยกตัว วิ่งตามขอบกำแพง และมองเส้นจากหางตา เป็นต้น หากบุตรหลานของท่านมีอาการบางอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น ท่านควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กเพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนทันที อย่ารีรอ เพราะการรู้เร็วจะทำให้เด็กได้ประโยชน์จากการรับบำบัดที่เร็วด้วย นอกจากนี้ลักษณะที่ได้กล่าวมาเหล่านี้อาจแสดงถึงภาวะรุนแรงอื่นๆ ที่ไม่ใช่ออทิสซึมได้ ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้ท่านผู้ปกครองสามารถเลือกวิธีการบำบัดหรือรักษาได้เหมาะสมที่สุดภาวะในเครือข่ายออทิสซึม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น